เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก

(คปอ.)

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปัญหา “สวล.” รุมเร้าระยอง วอน ผู้ว่าฯ อย่าชิมปัญหา

โพสต์เมื่อ 29 ม.ค. 52
ด้วยระบบของทางราชการที่มีการโยกย้าย เปลี่ยนถ่ายตัวผู้ว่าราชการจังหวัดระยองให้มีอายุการทำงานในแต่ละคนไม่เกิน 2 ปี ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดระยองเป็นเพียงการเข้ามาทำงานแบบชิมปัญหาแล้วก็จากไป ในขณะที่ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของจังหวัดอยู่ในสถานการณ์หนักหน่วงเกินเยียวยาและไม่สามารถรอคอยได้แม้แต่นาที


นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เปิดเผยถึง ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลจากมลพิษจากอุตสาหกรรม การควบคุมการขจัดมลพิษที่ไม่มีเกณฑ์ มาตราฐานที่ชัดจริง (Real - time) การขาดความใส่ใจดูแลด้านสุขภาวะของประชาชนหรือแม้กระทั้ง ด้านแรงงาน ที่เป็นผลมาจากการขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานราชการในจังหวัดกับส่วนกลาง ให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดีเพื่อดูแลประชาชนให้ประชาชนมีความอยู่เย็นเป็นสุข ตามพระราชฤษฎีกา ว่าด้วยการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖

ดังนั้นการเมินเฉยและไม่ใส่ใจที่จะบำบัดทุกข์บำรุงสุขของ “พ่อเมืองระยอง” จึงขัดต่อ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้ไว้มาตรา ๖ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีนั้นต้องมี การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย คือ

(๑) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

(๒) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

(๓) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

(๔) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

(๕) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์

(๖) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

(๗) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสมํ่าเสมอ

และเพื่อการนำไปสู่การแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของจังหวัด
นายสุทธิ กล่าวว่า จึงต้องมีการเร่งผลัดดันการประกาศให้จัดหวัดระยองเป็นเขตควบคุมมลพิษ ผลัดดันให้มีการจัดประชุมภหุภาคีที่เป็นการร่วมกันในทุก ๆ ภาคส่วน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนโดยมีผู้ว่าราชการจัดหวัดเป็นประธานและนำไปสู่กระบวนการการแก้ปัญหาที่สำเร็จให้ได้ หน่วยงานราชการในจังหวัด จึงต้องเร่งสร้างกระบวนการความเข้มแข็งด้านการมีส่วนร่วม การให้ความรู้ และการตรวจสอบปัญหาสิ่งแวดล้อมให้เป็นที่ประจักษ์
จากการเรียกร้องของประชาชนให้ยุติการขยายอุตสาหกรรม (ศึกษาความสามารถและศักยภาพในการรองรับมลพิษ Carrying capacity) ที่อยู่ในขณะนี้ยังเห็นถึงความไม่เปิดกว้างของหน่วยงานราชการในจังหวัดที่ให้ประชาชนได้ยึดหลักปฏิบัติ ตาม รธน. มาตรา 67 ที่ระบุไว้ อย่างชัดแจ้งว่า " สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์บำรุงรักษา และ การได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติ ต่อเนื่อง สิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชนและจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งให้ได้องค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสภาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้าน สิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินงานดังกล่าว”
“อีกทั้งปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขด้านบริหารการจัดการกองทุนอย่างมีธรรมาธิบาล และให้ภาคประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในส่วนของกองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า กองทุนระยองแข็งแรง กองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตสิ่งแวดล้อมของชาวมาบตาพุตและบ้านฉาง ที่ประชาชนคาดหวังให้หน่วยงานราชการโดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ว่าฯ ได้เป็นไปตาม พระราชฤษฎีกา การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี เน้นความโปร่งใส่ ความบริสุทธิ์ มีการตรวจสอบได้และเข้าถึงแหล่งประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง” นายสุทธิกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น