เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก

(คปอ.)

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สิทธิชุมชนกับความสมดุลในสังคม กรณีศึกษามาบตาพุด

บรรยายการงานสัมมนา “สิทธิชุมชนกับความสมดุลในสังคม” ที่จังหวัดระยอง ทำให้ทราบว่าประชาชนในพื้นที่โดยแท้จริงแล้วเริ่มมีองค์ความรู้และสนใจที่จะรับความรู้ด้วยตัวเอง ถึงแม้ว่าการหันมาสนใจหรือใส่ใจในสิทธิเสรีภาพในเรื่องสุขภาพจะตื่นตัวในขณะที่ พื้นที่ในจังหวัดเต็มไปด้วยมลพิษเสียแล้วก็ตาม แต่ก็ประเมินได้ว่าต่อจากนี้ไป พี่น้องระยองและพี่น้องภาคตะวันออกคงไม่ยอมปล่อยให้ภาคอุตสาหกรรมกระทำพฤติกรรมหมกเม็ด ไม่มีธรรมมาธิบาลในการประกอบธุรกิจอีกต่อไปได้




เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก นำโดยผู้ประสานงานเครือข่ายและคณะร่วมกันสัมมนาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาอุปสรรค และนำนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีใจช่วยประชาชน,สังคมอย่างกล้าหาญ ย้ำเน้นเป็นนักวิชาการที่น่าเคารพด้านการปฏิบัติทำหน้าที่ ที่สมศักดิ์ศรีของวิชาชีพ (ประเด็นการจริงใจต่อสังคม ช่วยเหลือประชาชน) อาทิ นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คุณสมพร เพ็งค่ำ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ , รศ.ดร.เรณู เวชรัตน์พิมล คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร , อาจารย์ภารณี สวัสดิ์รัตน์ เครือข่ายวางแผนและผังเมือง , คุณสุอังคณา แก้วบุญเรือง แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบสื่อสารสุขภาพ(รสส.) ฯลฯ กับการบรรยายให้กับผู้ร่วมสัมมนากว่า 369 คน
สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน จากนักรัฐศาสตร์ ผู้หนึ่ง ที่ได้ร่วมการบรรยาย นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ด้วยประเด็นการใช้สิทธิทางรัฐศาสตร์ “ว่าคนเราทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่ควรจะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เป็นสิทธิพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคม แต่ทุกคนต้องประสบกับความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องการใช้บังคับของกฎหมาย ความไม่เป็นธรรมในเรื่องของการที่ได้รับการปฏิบัติในเรื่องต่างๆที่ไม่เท่าเทียมกัน ผมคิดว่าพื้นฐานของคนเราควรจะได้รับการปฏิบัติโดยเท่าเทียมกัน เพราะคนทุกคนก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน”

สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์ที่มาติดอาวุธทางปัญญาให้กับชาวระยองจากกรณีมาบตาพุด โชคร้ายที่ชาวระยองได้รับ คือ นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ในประเด็น สิทธิชุมชนกับการสร้างสังคมชุมชนที่เข้มแข็ง กรณีปัญหามาบตาพุด ได้ให้บทเรียนต่อสังคมหลายอย่าง อาทิแสดงให้เห็นว่าการเมืองภาคประชาชนที่รุกขึ้นมาร่วมกันต่อสู้ เพื่อจะทำให้เกิดความสุขในชุมชนแบบมั่นคงและยั่งยืน โดยวิถีทางในระบบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง ซึ่งทำให้เห็นว่าพลังประชาชนที่จะทำให้เกิดความสมดุลในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างเศรษฐกิจการลงทุนกับเศรษฐกิจวัฒนธรรมชุมชน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต่อต้านธุรกิจอุตสาหกรรม แต่เราต้องการธุรกิจอุตสาหกรรมที่รับผิดชอบและมีจิตสำนึกต่อสังคม ในการที่จะทำให้เกิดระบบธรรมาภิบาลที่จะไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม ชีวิตและชุมชน

แต่สิ่งสำคัญที่ได้เห็นและชื่นใจคือ พี่น้องประชาชนผู้ร่วมสัมมนา (ระยอง แท้ แท้) ผู้ได้รับผลกระทบ นั้นใส่ใจและเต็มใจร่วมศึกษาหน้าที่และหน้าที่ ที่ตนต้องดูแลตัวเองและสิ่งแวดล้อม ได้จาก การมีคำถามในเชิงหาทางออกร่วมกับนักวิชาการ ในสถานการณ์และสภาพที่ตนเองได้เจอจากการกระทำของกระบวนการต่าง ๆ ที่ภาคอุตสาหกรรมละเมิดสิทธิมาโดยตลอด

หนึ่งภาพ ล้านคำบรรยาย

หมื่นล้านเม็ดเงิน ฤ จะสู้พลังมวลชน “ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีไว้ให้ตระหนักคุณค่า อนุรักษ์ มิได้มีไว้ผลาญทำลาย”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น