เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก

(คปอ.)

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เขตควบคุมมลพิษที่มาบตาพุด

โพสต์เมื่อ 6 พ.ค. 52

เขตควบคุมมลพิษที่มาบตาพุด

ลดและขจัดมลพิษเพื่อชีวิตประชาชนและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

ประกาศเขตควบคุมมลพิษ

พระราชบัญญัติส่งเสริมการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535


มาตรา 59 "ท้องที่ใดที่มีปัญหามลพิษ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอำนาจประกาศฯ กำหนดให้ท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษได้"

ประกาศเขตควบคุมมลพิษ

มาตรา 60 จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษ โดยเทศบาลเป็นหลัก และเจ้าหน้าที่ควบคุมมลพิษช่วยเหลือสนับสนุน

- สำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆ

- ทำบัญชีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวน ประเภท และขนาดของแหล่งกำเนิดมลพิษ

- วิเคราะห์ ประเมินสถานภาพ ความรุนแรง และผลกระทบ เพื่อกำหนดมาตรการต่างๆ ที่จำเป็นและเหมาะสม

สิ่งที่สำคัญคือ กระบวนการมีส่วนร่วม และการพัฒนาขีดความสามารถของภาคประชาชน

กำหนดค่ามาตรฐานสิ่งแวดล้อม

ให้เข้มงวดขึ้นเฉพาะเขตควบคุมมลพิษได้

มาตรา 33 คกก.สลว.แห่งชาติ มีอำนาจกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้เข้มงวดขึ้นได้ สำหรับเขตควบคุมมลพิษ

มาตรา 58 ผู้ว่าฯ มีอำนาจกำหนดมาตรฐานจากแหล่งกำเนิดมลพิษ ให้เข้มงวดขึ้น สำหรับเขตควบคุมมลพิษ

กำหนดมาตรฐานให้เข้มงวดขึ้น และบังคับใช้อย่างจริงจังและเร่งด่วน

อำนาจจากการประกาศเขตควบคุมมลพิษของ

รัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

หากปัญหายังรุนแรงเข้าขั้นวิกฤต และส่วนราชการไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ รัฐมนตรี กท. ทรัพยากรธรรมชาติฯ ขออนุมัติ ครม. ใช้มาตรการต่างๆ ได้ ดังนี้

กำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน แก้ปัญหาผังเมืองมาบตาพุดและบ้านฉาง

ห้ามการกระทำหรือกิจกรรมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบ แก้ปัญหามลพิษเร่งด่วน ปัญหาอุบัติภัยต่างๆ

เพิ่มความครอบคลุมการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

กำหนดวิธีการจัดการ หน้าที่รับผิดชอบของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

กำหนดมาตรการอื่นๆ ที่เห็นสมควรและเหมาะสมกับสภาพของพื้นที่

ระบบบำบัดน้ำเสียรวม หรือระบบกำจัดของเสีย

ของทางราชการ

มาตรา 61 ก่อสร้างหรือดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือระบบกำจัดของเสียรวมของทางราชการ ที่จำเป็นสำหรับการแก้ไขปัญหามลพิษ

การจัดทำระบบบันทึกข้อมูลสารอันตรายและของเสีย ที่เกิดขึ้นจริงครอบคลุมการใช้ การเกิด การขนส่ง การกำจัด

จะได้แก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยล้น และการลักลอบทิ้งอยู่เรื่อยๆ

การประกาศเขตควบคุมมลพิษที่มาบตาพุด

คือโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจระยองที่ยั่งยืน

การสร้างงานและพัฒนาเศรษฐกิจ จากการลงทุนในเทคโนโลยีสะอาด ใช้มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ลงทุนพลังงานหมุนเวียน

รองรับแรงงานว่างงาน และแรงงานชนบท สร้างงานอย่างยั่งยืนในระยะยาว

ฟื้นฟูฐานทรัพยากร เพื่ออาชีพ และวิถีชีวิตของประชาชน

ลดและขจัดมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชน

อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ หากประกาศเขตควบคุมมลพิษ

ความหวังของธรรมาภิบาลที่มาบตาพุด

ประเด็นปัญหา

ผู้รับผิดชอบหลักในปัจจุบัน?

ถ้าประกาศเขตควบคุมมลพิษ

แผนการจัดการมลพิษ

การนิคมฯ+หน่วยงาน สวล.

เทศบาล+หน่วยงายสวล.

ระบบบำบัดน้ำเสีย/ของเสียรวมของราชการ

การนิคมฯ

เทศบาล+หน่วยงายสวล.

กำหนดมาตรฐานมลพิษจากแหล่งกำเนิด

คกก.สสวล.แห่งชาติ+กท.อุตสาหกรรม

ผู้ว่าราชการจังหวัด

กำหนดมาตรฐานคุณภาพ สวล.

คกก.สวล.แห่งชาติ(กำหนดเพื่อใช้ทั้งประเทศ)

คกก.สวล.แห่งชาติ(เข้มงวดขึ้นเฉพาะพื้นที่ได้)

มาตรการอื่นๆ

หลากหลายหน่วยงาน

รมต.+กก.วล.+ครม.

จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทางเครือข่ายได้ตัดสินใจฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศพื้นที่มาบตาพุดและข้างเคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษ ตามพรบ.ส่งเสิมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 59 และถึงที่สุด ศาลปกครองระยองได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการสิ่งแวล้อมแห่งชาติประกาศให้พื้นที่มาบตาพุดและข้างเคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษ ตามที่เครือข่ายได้ฟ้องร้องต่อศาลภายใน 60 วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น